มหัสจรรย์ ไส้เดือนดิน

              ทำไมต้องเลี้ยง"ไส้เดือนดิน"
            ปัจจุบันไส้เดือนสัตว์ที่อาศัยอยู่ใต้ดิน พลิกกลับขึ้นมามีบทบาทและความสำคัญเป็นอย่างมาก  จึงได้มีการเลี้ยงไส้เดือนดินเพื่อการค้า ไม่ว่าจะเพื่อผลิตปุ๋ยอินทรีย์ หรือนำมาเป็นอาหารสัตว์  เป็นการสร้างรายได้ให้แก่ผู้เลี้ยง อีกทั้งยังถือว่าเป็นการช่วยในเรื่องของรักษาสิ่งแวดล้อม  ในรูปแบบของการกำจัดเศษอาหารหรือขยะอินทรีย์  

           บทบาทของไส้เดือนดินจะถูกมองว่ามีประโยชน์มากกว่ามีโทษต่อมนุษย์  โดยเฉพาะไส้เดือนดินจะมีส่วนช่วยทำให้โครงสร้างของดินดีขึ้น โดยการชอนไชทำให้ดินร่วนซุย ทำให้การระบายน้ำและอากาศไปสู่ดินได้ดีขึ้น  ไส้เดือนดินบางสายพันธุ์สามารถชอนไชลงใต้ดินได้ลึกกว่า 20 เมตร ซึ่งเป็นการไถพรวนทางธรรมชาติ ที่เครื่องกลทางการเกษตรไม่สามารถทำได้ และยังช่วยให้ดินอุดมสมบูรณ์ โดยการช่วยเพิ่มอินทรีย์วัตถุและธาตุอาหารแก่ดิน  นอกจากนี้ยังพบว่าไส้เดือนดินมีประโยชน์ต่อพืช  ในการช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืชด้วย และยังสามารถบ่งบอกถึงการปนเปื้อนสารเคมีในดิน  ด้วยการดูจากความหนาแน่นของประชากรไส้เดือนที่มีอยู่  ปัจจุบันมีการนำ ไส้เดือนมาใช้ประโยชน์ในแง่ของการย่อยสลายขยะอินทรีย์เพื่อผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือน  และใช้เป็นแหล่งโปรตีนเสริมเลี้ยงสัตว์ได้ เนื่องจากเนื้อเยื่อของไส้เดือนดินจะอุดมไปด้วย กรดอะมิโนและสารอาหารที่มีประโยชน์อื่น ๆ หลายชนิดที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของสัตว์  ที่สำคัญ คือ สามารถใช้เป็นอาหารเลี้ยงสัตว์น้ำทั่วไป  เช่น ปู ปลา  กบ กุ้ง  และสัตว์ปีก  อีทั้งเป็นเหยื่อตกปลาที่ดีอีกด้วย

             การแพร่พันธุ์ของไส้เดือนดิน  ถึงแม้ไส้เดือนดินแต่ละตัวมีทั้งสองเพศในตัวเดียวกัน  แต่ก็จะมีการจับคู่ผสมพันธุ์กัน  โดยปกติไส้เดือนดินจะผสมพันธุ์กันในช่วงกลางคืน  ไส้เดือนดินสองตัวมาจับคู่สลับหัวสลับหางกันโดยใช้ด้านท้องแนบติดกัน  ให้ตำแหน่งของช่องปล่อยสเปิร์ม (ปล้องที่ 18) ของตัวหนึ่ง  ตรงกับช่องรับสเปิร์มของอีกตัวหนึ่ง (ปล้องที่ 7 หรือ 8) โดยมีปุ่มสำหรับยึดเกาะในระหว่างผสมพันธุ์กับเมือกบริเวณไคลเทลลัมยึดซึ่งกันและกันไว้  แล้วแต่ละตัวจะปล่อยสเปิร์มของตัวเอง  ไปเก็บไว้ในถุงรับสเปิร์ม (Seminal receptacle) ของอีกตัวหนึ่งทีละคู่จนครบทุกคู่  แล้วไส้เดือนดินทั้งสองจะแยกออกจากกัน   เมื่อไส้เดือนดินที่ได้มีการรับสเปิร์มมาแล้วจะวางไข่  บริเวณ clitellum จะมีการสร้างเมือกหนาขึ้นมาแล้วเริ่มแข็งตัวคล้ายเป็นปลอก  จากนั้นไส้เดือนดินจะเริ่มขยับตัวถอยหลัง  ทำใ้ห้ปลอกเคลื่อนตัวไปทางด้านหัว  ในขณะเดียวกันจะมีการปล่อยไข่ออกมาจากช่องออกไข่ (ปล้องที่ 14) ปลอกจะรับไข่เคลื่อนไปจนถึงช่องรับสเปิร์ม (ปล้องที่ 7 หรือ 8) ก็จะได้รับการผสมจากสเปิร์มที่รับมาเก็บไว้  ปลอกจะถูกดันให้เคลื่อนต่อไปจนหลุดออกไปทางหัว  ปลายทั้งสองด้านของปลอกจะปิดแล้วแข็งตัวได้เป็นถุงไข่ (Cocoon)  รูปไข่สีน้ำตาลแกมเหลือง  ขนาดประมาณ 1 - 2 มิลิเมตร มีไข่อยู่ภายใน 3 - 5 ใบ ใช้เวลาประมาณ 4 - 8 สัปดาห์ จะฟักตัวออกมา

       วิธีการเลี้ยงไส้เดือนดินแบบง่ายๆ
  1. การเตรียมบ้านไส้เดือนดิน
                            ในการเลี้ยงไส้เดือนดิน อันดับแรกจะต้องเตรียมบ้านให้ไส้เดือนดินก่อน ซึ่งจะใช้ภาชนะที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น เช่น ถังพลาสติก กะละมังพลาสติก ลิ้นชักพลาสติก หรือบ่อซีเมนต์ เป็นต้น  
การเตรียมบ้านให้ไส้เดือนดินนั้น ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่
ส่วนที่ 1 ใช้สำหรับรวบรวมน้ำหมักมูลไส้เดือน ไม่ต้องเจาะรูก้นภาชนะ
ส่วนที่ 2 ใช้สำหรับเลี้ยงไส้เดือน เจาะรูที่ก้นภาชนะหรือ ต่อก๊อกน้ำเพื่อให้น้ำหมักมูลไส้เดือนไหลผ่านได้ ถ้าเป็นถังพลาสติก หรือกะละมังพลาสติก ภาชนะส่วนนี้จะมีขนาดใหญ่กว่าภาชนะส่วนแรกเล็กน้อยเพื่อให้สามารถวางซ้อนได้ 
  2. การสร้างบ้านไส้เดือน 
                              นำภาชนะส่วนที่ 1 ไว้ล่างสุดเพื่อเป็นที่รวบรวมน้ำหมักมูลไส้เดือนดิน จากนั้นนำภาชนะส่วนที่ 2 ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าส่วนที่ 1 มาวางซ้อนเพื่อเป็นที่สำหรับเลี้ยงไส้เดือนดิน ซึ่งสามารถซ้อนได้ 2-3 ชั้น หรือตามความเหมาะสม การเจาะรูที่ก้นภาชนะช่วยให้น้ำหมักไหลรวมอยู่ที่ภาชนะส่วนที่ 1
3. การเตรียมที่อยู่ไส้เดือนดิน
         การเตรียมที่อยู่ไส้เดือนดิน หรือการเตรียมส่วนผสมเพื่อใช้รองพื้นสำหรับเลี้ยงไส้เดือนดินนั้น ประกอบด้วย
     -ดินร่วน 4 ส่วน     
     -มูลวัว 1 ส่วน                        
 นำส่วนผสมเพื่อใช้รองพื้นสำหรับเลี้ยงไส้เดือนมาผสมตามอัตราส่วนข้างต้นให้เข้ากัน และรดน้ำพอชุ่ม
นำดินที่ผสมแล้วใส่ภาชนะที่จะเลี้ยงสูงประมาณ 3-5 นิ้ว (ตามความเหมาะสมของภาชนะ) ตั้งทิ้งไว้ในที่ร่ม ประมาณ 20 วัน เพื่อ  ลดความเป็นกรดของดินให้เหมาะสม จากนั้นนำไส้เดือนมาเลี้ยงในอัตราส่วน 50-100 ตัว ต่อ 0.1 ตร.เมตร 
     ต้องหมั่นตรวจเช็คบริเวณผิวดิน หากแห้งเกินไปต้องใช้กระบอกฉีดน้ำพรมผิวดินให้ชุ่มชื้นอยู่เสมอ 
 4. การให้อาหารไส้เดือน
                      อาหารสำหรับเลี้ยงไส้เดือนดิน ได้แก่ มูลฝอยอินทรีย์ต่างๆ เช่น เศษผัก เศษผลไม้ หรือเศษอาหารต่างๆ เป็นต้น
 วิธีการให้อาหารไส้เดือนดิน ควรให้อาหารทีละน้อยและใช้วิธีขุดหลุมฝังเศษอาหารโดยเวียนเป็นวงกลม ดังนั้น จึงต้องทำสัญลักษณ์ไว้ว่าฝังเศษอาหารลงตรงไหนไปแล้ว เพราะไส้เดือน จะปล่อยเมือกใส่อาหาร เพื่อให้กรดอมิโนที่หลั่งออกมากับเมือกของไส้เดือนย่อยเศษอาหาร โดยใช้เวลาประมาณ 2-3 วัน แล้วจึงค่อยกินอาหารดังกล่าว
  5. สภาพแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อไส้เดือน
      1. อุณหภูมิที่หมาะสมในการเพาะเลี้ยงไส้เดือนอยู่ระหว่าง 12-25 oC ถ้าอุณหภูมิต่ำหรือสูงกว่านี้ไส้เดือนจะไม่ขยายพันธุ์ หรือไม่เพิ่มจำนวน
     2. ไส้เดือนดินเป็นสัตว์ที่ไม่ชอบแสงแดด จึงจำเป็นต้องมีภาชนะทึบปิดกันแสง
     3. ไส้เดือนดินต้องการความชื้นอย่างเพียงพอสำหรับการเจริญเติบโต ไม่ควรให้แฉะเกินไปหรือมีน้ำขังมากเกินไป
     4. ไส้เดือนดินชอบอาศัยอยู่บริเวณที่มีการถ่ายเทของอากาศได้สะดวก แต่ในบางครั้งสามารถอยู่ในสภาพที่มีออกซิเจนต่ำ คาร์บอนไดออกไซด์สูงได้
     5. ไส้เดือนดินสามารถเจริญได้ดีในดินที่มีสภาพ เป็นกลาง
 6. ศัตรูของไส้เดือนดิน
 ศัตรูของไส้เดือนดิน เช่น ไรแดง มด หนู นก กบ กิ้งกือ ตะเข็บ หอย งู ตัวอ่อนแมลงปีกแข็ง จิ้งจก ตุ๊กแก แมงกระชอน จิ้งหรีด ดังนั้น ในการเลี้ยงจึงจำเป็นต้องมีตาข่ายป้องกันแมลงและสัตว์ต่างๆ เข้าไปกินไส้เดือน
  7. วิธีการใช้ประโยชน์
       1.มูลไส้เดือนดินที่คัดแยกไส้เดือน ออกแล้ว นำมาผึ่งลมให้แห้ง และนำไปใช้โรยตามโคนต้นไม้
เพื่อใช้เป็นปุ๋ยบำรุงดินตามต้องการ
       2. นำน้ำหมักมูลไส้เดือนดินที่รวบรวมได้มาเติมอากาศเพื่อช่วยในการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ 
จากนั้นนำน้ำหมักมูลไส้เดือน 1 ส่วน ผสมน้ำ 20 ส่วน ใช้รด พืชผัก ไม้ผล ไม้ดอกเพื่อช่วย
ในการเจริญเติบโต
       3. นำน้ำหมักมูลไส้เดือนเข้มข้น ใช้ราดพื้น หรือท่อระบายน้ำเพื่อบำบัดกลิ่นตามห้องน้ำ หรือพื้นที่
ที่มีกลิ่นเหม็น
       4. ตัวไส้เดือน สามารถคัดแยกเพื่อขยายพันธุ์หรือนำไปจำหน่ายต่อไปได้ 
8. สาเหตุของปัญหาและการแก้ไขปัญหาจากการเลี้ยงไส้เดือนดิน
8.1 กลิ่นเหม็น

  8.2 ไส้เดือนหายจากที่เลี้ยง
8.3 ที่อยู่แห้ง
8.4 ไส้เดือนมีขนาดเล็ก
ผลผลิตจากการเลี้ยงไส้เดือนดิน
ศูนย์เรียนรู้...และเผยแพร่ ณ ทต.พรรณานคร อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร
ศูนย์เรียนรู้ฯ หน้าที่ว่าการอำเภอพรรณานิคม จ.สกลนคร
งานเผยแพร่และประชาสัมพันธ์...สุ่ผู้นำชุมชน
นิทรรศการให้ความรู้
งานส่งเสริมการตลาด...ผลิตผลจากไส้เดือนดิน
ขยายผล...สู่สถานศึกษาในพื้นที่
ส่งเสริม ให้ความรู้...สู่ครัวเรือนในพื้นที่
ต่อยอดโดย...แนวคิดโครงการ"ประมงข้างบ้าน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น