วันเสาร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

การเลี้ยงหอยขม (หอยจุ๊บ)

 หอยขม(หอยจุ๊บ)  ขอบบ่อ...ก็มีเจ้าหอยเกาะอยู่ 
   อยากแกงเมื่อไหร่ก็ล้วงลงไปที่ขอบบ่อได้ทันที
......เชื่อว่าคงไม่มีใครที่ไม่เคยกินหอยขม แม้จะเคยกินกันแต่หลายคนอาจจะไม่ทราบว่าหอยขมที่คุณกินเข้าไปนั้น ปัจจุบันมาจากการเลี้ยงนั่นเอง เพราะหลายคนอาจจะยังนึกว่าที่เห็นกันตามท้องตลาดทั่วไปนั้น เป็นหอยที่ชาวบ้านเขาไปงมกันมาหรือเปล่า จะว่าไปการเลี้ยงหอยขม (หอยจุ๊บ) ถือเป็นสัตว์อีกชนิดหนึ่งที่น่าจับตามองอย่างมาก เพราะหอยขมเป็นหนึ่งในเมนูยอดฮิตตามร้านอาหารเช่นกัน อย่างแกงคั่วใบชะพลูใส่หอยขม แต่เพราะปัจจุบันธรรมชาติได้ถูกทำลายไปเยอะ ทำให้หอยขมตามธรรม ชาติได้ตายและสูญหายไปเยอะ
เรียนรู้การเลี้ยงหอยขม (หอยจุ๊บ)
การเลี้ยงหอยขม (หอยจุ๊บ) เป็นสัตว์ที่เลี้ยงไม่ยากมากและชอบอยู่ในน้ำนิ่งๆเพราะหอยขมเป็นสัตว์ที่ชอบน้ำสะอาด ถ้าหากมีสารเคมีประเภทยาฆ่าหญ้า หรือสารกำจัดศัตรูพืช ที่ฉีดกันนิดหน่อย เพียงแค่นี้ก็ทำให้หอมขมตายได้แล้ว จึงส่งผลทำให้ปัจจุบันจำนวนหอยขมเหลือน้อยลง เลยมีเกษตรกรบางกลุ่มได้จับหอยขมมาเพาะเลี้ยงจนประสบความสำเร็จ ซึ่งหอยขม นั้นมีประโยชน์ในหลายด้าน ด้านที่เห็นชัดที่สุดก็คงเรื่องของอาหาร และด้านของความเชื่อซึ่งคนที่ชอบทำบุญก็เชื่อว่าการปล่อยหอยขมจะช่วยทำให้เรื่องร้าย ๆหลายไปความขมขืนจะหายไปด้วยเช่นกัน

ก่อนเริ่มการเลี้ยงหอยขม (หอยจุ๊บ)
การเลี้ยงหอยขม (หอยจุ๊บ) ซึ่งเป็นสัตว์น้ำจืด ชอบอาศัยอยู่ในน้ำนิ่งๆ ต้องมีความลึกมากกว่า 10 เซนติเมตร มีความสะอาดและไร้สารพิษ หรือสารเคมี ซึ่งอาหารของหอยขม จะเป็นพวกสาหร่าย แพลงก์ตอน ตะไคร่น้ำ ตะกอน เมือก และซากพืชที่ผุเน่าเปื่อยอยู่เหนือผิวดินใต้น้ำ ส่วนการขยายพันธุ์หอยขมนั้น บอกให้ทราบกันก่อนว่า หอยขมจะเป็นสัตว์ที่มีสองเพศในตัวเดียวกันโดยจะสามารถผสมพันธุ์ได้ด้วยตัวเอง และยังสามารถผสมพันธุ์ได้เร็วตั้งแต่อายุ 60 วัน และออกลูกได้ครั้งละ 40 ถึง 50 ตัว
ข้อดีในการเลี้ยงหอยขม (หอยจุ๊บ)
หอยขมที่อยู่ในธรรมชาติมีน้อยมาก เป็นเพราะแหล่งน้ำตามธรรมชาติไม่สะอาด ทำให้การเลี้ยงหอยขม (หอยจุ๊บ) จึงเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้น เพราะหอยขมขยายพันธุ์ได้เร็ว และโตไว หากนำมาเลี้ยงเพียง 2 กิโลกรัม และมีการดูแลที่ดีจะได้มากถึง 100 กิโลกรัมภายใน 6 เดือนถ้าเลี้ยงด้วยอีเอ็มจะไม่มีพยาธิ ซึ่งวิธีการเลี้ยงหอยขม  ไม่ชอบน้ำที่มีสารเคมี จึงทำให้เกษตรนิยมเลี้ยงหอยขมในร่องสวน, เลี้ยงหอยขมในกระชัง, เลี้ยงหอยขมในบ่อปูน, เลี้ยงหอยขมในบ่อปูพลาสติก, เลี้ยงหอยขมในร่องสวน และเลี้ยงผสมกับปลา กุ้ง หรือสัตว์น้ำอื่นๆ ก็ได้
การเลี้ยงหอยขม (หอยจุ๊บ) ต้องหาพื้นที่ที่มีน้ำสะอาดนิ่ง ๆ และต้องมีความลึกมากกว่า 10 เซนติเมตร ให้หาพืชน้ำไปปลูกไว้ในน้ำเพื่อให้หอยขมที่เลี้ยงได้เกาะ และกินอาหาร ผู้เลี้ยงก็สามารถจะเก็บหอยขมได้จากขอบบ่อและตามต้นไม้น้ำที่เราปลูกไว้

การเลี้ยงกุ้งฝอย

กุ้งฝอย เลี้ยงกินก็ง่าย เลี้ยงขายก็ได้กำไร
    อีกหนึ่งประเภทอาหารในบ่อข้างบ้าน  เป็นอาหารคุณภาพดี ที่หากินได้ง่ายๆ ใกล้ๆครัว  
    กุ้งฝอยเป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่ายแล้วโตเร็วมาก ไม่ว่าจะเลี้ยงไว้กิน หรือจะเลี้ยงไว้ขาย ก็ทำได้หมด กุ้งฝอยถือว่าเป็นอีกหนึ่เมนูอาหรที่อร่อยสุดๆ ทำเป็นอาหารได้หลายอย่าง คนชอบทานมากที่สุดคือ กุ้งเต้น แซ่บมาก หลายคนอาจจะมีความสนใจในการเลี้ยงกุ้งฝอย แต่ไม่รุ็ว่าจะเริ่มจากตรงไหน ทำอะไรบ้าง และไม่แน่ใจในขึ้นตอนต่างๆ  วันนี้ผมจะแนะนำวิธีการเลี้ยงกุ้งฝอยแบบง่ายๆ  ที่ใช้พื้นที่จำกัดภายในบริเวณบ้านก็สามารถเลี้ยงเองได้ง่ายๆ
การเตรียมบ่อ สำหรับวิธีการเลี้ยงกุ้งในบ่อพลาสติก
1.เตรียมบ่อขนาดแล้วแต่ความเหมาะสม หรือแล้วแต่สถานที่จะอำนวยครับ  ความลึกก็พอสมควร 
2.ปูก้นบ่อด้วยพลาสติกสีดำนำดินมาเทถมให้ทั่วก้นบ่อบนพลาสติกประมาณ 7-8 เซนติเมตร
3.เติมน้ำลงไปให้เต็มบ่อพอดี ทิ้งไว้ประมาณ 7-10 วัน
4.นำพืชน้ำที่เตรียมไว้ลงไปปลูก โดยพืชน้ำที่จะเป็นที่อาศัยของกุ้งฝอย อย่างสาหร่ายหรือ ผักตบชวาเพื่อช่วยในการปรับสภาพน้ำในบ่อด้วย
5.แล้วปล่อยกุ้งลงไปประมาณ 5 ขีด ช่วงปล่อยกุ้งลงไปไม่ต้องให้อาหารประมาณ 7 วัน เพื่อให้กุ้งปรับสภาพในบ่อ
การเตรียมบ่อซีเมนต์ สำหรับวิธีเลี้ยงกุ้งในบ่อซีเมนต์
    1.เตรียมบ่อซีเมนต์ ที่สะอาด ผ่านการใช้งานแล้ว ถ้าเป็นบ่อเก่าจะดีมากๆ หากเป็นบ่อใหม่ต้องทำการแช่น้ำทิ้งไว้ ซักอาทิตย์ก่อน เพื่อลดความเค็มของปูน
   2.เติมน้ำลงในบ่อ ทิ้งไว้หนึ่งสัปดาห์
   3.นำพืชน้ำที่เตรียมไว้ลงไปปลูก โดยพืชน้ำที่จะเป็นที่อาศัยของกุ้งฝอย อย่างสาหร่ายหรือ ผักตบชวาเพื่อช่วยในการปรับสภาพน้ำในบ่อด้วย
 4.แล้วปล่อยกุ้งลงไปประมาณ 5 ขีด ช่วงปล่อยกุ้งลงไปไม่ต้องให้อาหารประมาณ 7 วัน เพื่อให้กุ้งปรับสภาพในบ่อ

วิธีทำอาหารกุ้งฝอย
1.ต้มไข่ให้สุก เอาเฉพาะไข่แดง 2 ฟอง
2.รำอ่อน 3 ขีดผสมให้เข้ากัน ปั้นเท่ากำปั้น โยนลงไปในบ่อประมาณ 3 ก้อน
เทคนิคการทำให้กุ้งให้วางไข่
ให้นำสายยางน้ำมาเปิดลงในบ่อหรือปั๊มเล็กที่ทำน้ำตก โดยการเปิดแรงๆ ประมาณ 10-20 นาที เพราะกุ้งชอบเล่นน้ำไหลแล้วจะดีดตัวทำให้ไข่ตกลงมา (ธรรมชาติน้ำนิ่งกุ้งไม่วางไข่) ประมาณ 1-2 เดือน กุ้งก็จะโตเต็มที่ใช้เวลาทั้งหมดประมาณ 4 เดือน จะได้กุ้งประมาณ 20-30 กิโลกรัมราคากิโลกรัมละ 150-250 บาท หลังจากให้อาหารประมาณ1 เดือน กุ้งจะวางไข่ให้สังเกตตอนกลางคืนโดยการนำไฟฉายมาส่องดูว่ากุ้งจะวางไข่หรือไม่ 

...เป็นวิธีง่ายๆที่ใครๆก็สามารถทำได้ ไปลองทำกันดูครับ.....

การเพาะเลี้ยงปลาหลด

 ปลาหลด
               ...ปลาที่ถูกเลือกมาอยู่ร่วมกับเพื่อๆในบ่อข้างบ้าน เนื่องจากมีนิสัยที่ไม่เบียดเบียนใคร นี่เป็นเหตุผลหลักครับที่ทำให้ผลเลือกศึกษา และนำมารวมไว้ในโครงการ"ประมงข้างบ้าน  อีกทั้งยังเป็นปลาที่ชอบกินไส้เดือนที่เราเพาะเลี้ยงไว้เพื่อกินเศษผัก หรือเปลือกผลไม้ให้กลายเป็นปุ๋ยนั่นเอง  จะเห็นว่าเป็นปลาที่เหมาะสมที่สุดแล้ว ที่จะได้รับเกียรติให้มาอยู่ในบ่อข้างบ้านเรา 

  
          ปัจจุบัน ปลาหลดในนาข้าวในทั่วทุกภาคจะไม่ค่อยมีให้จับมากเหมือนในอดีต อาจเนื่องจากชาวนามีการใช้สารเคมีมากเกินไปหรืออาจเป็นเพราะปลาชนิดนี้จะไม่ค่อยอพยพลงตามน้ำในช่วงท้ายฤดูฝน ทำให้ลูกปลาหลดหรือแม่ปลาส่วนใหญ่ตายตามท้องนาหลังน้ำลด ทำให้ฤดูต่อมามีแม่ปลาขึ้นมาวางไข่ในปริมาณที่น้อยลงจนอาจทำให้ปลาหลดหายไปจากบริเวณนั้นก็เป็นได้   ปลาหลดเพศผู้ และเพศเมียจะมีรูปร่างภายนอกที่เหมือนกันมาก หากไม่สังเกตดีๆจะแยกเพศไม่ออก แต่จะสังเกตได้ง่ายเมื่อตัวเต็มวัย โดยเฉพาะในช่วงฤดูสืบพันธุ์ คือ เพศเมียมีรูปร่างลำตัวอ้วนป้อมมากกว่าเพศผู้ และมีส่วนท้องแบนใหญ่กว่า บริเวณอวัยวะเพศที่อยู่ถัดจากส่วนท้องมาด้านปลายหางด้านล่างจะมีติ่งยื่นออกมา ส่วนเพศผู้ บริเวณอวัยวะเพศจะไม่มีติ่งเพศเหมือนกับเพศเมีย และลำตัวมีรูปร่างเรียวยาวมากกว่าเพศเมีย   
     

      การสืบพันธุ์ และวางไข่
ปลาหลดเพศผู้ก่อนถึงช่วงสืบพันธุ์จะเริ่มผลิตน้ำเชื้อไว้ถุงน้ำเชื้อ ซึ่งสามารถรีดน้ำเชื้อได้ ส่วนปลาหลดเพศเมียจะสร้างไข่ไว้เต็มช่องท้อง โดยไข่ปลาหลดจะมีลักษณะกลมใส โดยเมื่อไข่สุก และพร้อมที่จะผสมพันธุ์จะอยู่ในช่วงเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม มีจำนวนไข่ประมาณ 1,000-1,200 ฟอง/ตัว
    ไข่ปลาหลดใช้เวลาฟักออกเป็นตัวประมาณ 2-3 วัน หลังวางไข่ หลังจากฟักออกเป็นตัวแล้ว ลูกปลาหลดจะพร้อมกินอาหาร และเติบโตจนมีลักษณะเหมือนตัวเต็มวัยที่อายุประมาณ 27 วัน

การดำรงชีพ และการหาอาหาร
ปลาหลดสามารถอาศัยอยู่ได้ทั้งในน้ำไหล และน้ำนิ่ง แต่โดยธรรมชาติจะชอบอาศัยในแหล่งน้ำนิ่งตามบึง อ่างเก็บน้ำ แอ่งน้ำ หรือ ตามนาข้าว โดยช่วงกลางวันจะชอบหลบซ่อนตามโพรงไม้ รูดินใต้น้ำ หรือตามกอหญ้า และหาอาหารบ้างเป็นครั้งคราว แต่โดยธรรมชาติ ปลาหลดจะออกหาอาหารในเวลากลางคืนเป็นหลัก
        อาหารของปลาหลดในวัยอ่อนจะเป็นพวกแพลงก์ตอนสัตว์ต่างๆ รวมถึงไรแดง และสัตว์น้ำขนาดเล็ก ส่วนในระยะโตเต็มที่จะชอบกินสัตว์น้ำขนาดเล็ก ตัวอ่อนของแมลง แมลงขนาดเล็ก รวมถึงซากเน่าเปื่อยต่างๆ

      การเพาะ และขยายพันธุ์ปลาหลดสามารถทำได้ด้วย 3 วิธี คือ
1. การเพาะขยายพันธุ์แบบธรรมชาติ
– นำพ่อแม่พันธุ์มาปล่อยเลี้ยงในบ่อซีเมนต์ อัตราพ่อแม่พันธุ์ตัวผู้/ตัวเมียที่ 1:2/ตารางเมตร
– ปล่อยให้พ่อแม่พันธุ์ผสมพันธุ์ และวางไข่เองตามธรรมชาติ
– ทำการอนุบาลร่วมด้วยกับการเลี้ยงต่อไปในบ่อซีเมนต์
   
      ไข่ปลาหลดเป็นไข่ติด มีลักษณะกลม สีขาวอมเหลือง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.40-1.70 มิลลิกรัม ฟักออกเป็นตัวภายใน 45 ชั่วโมง 30 นาที ที่อุณหภูมิน้ำ 28-29 องศาเซลเซียส พัฒนาของลูกปลาวัยอ่อน มีรูปร่างเหมือนตัวเต็มวัย อายุ 40 วัน มีความยาว 33.50 มิลลิเมตรการเลี้ยงปลาหลด สามารถเลี้ยงได้ทั้งในบ่อดิน และบ่อซีเมนต์ ขนาด 400x400x50-70 เซนติเมตร ผิวบ่อฉาบเรียบและทำให้ลาดเอียง ประมาณครึ่งบ่อ เพื่อให้ทรายปนดินเหนียว ใส่ผักบุ้งไว้เป็นร่มเงา เติมน้ำให้ท่วมดินทราย ประมาณ 40 เซนติเมตร ปล่อยปลาหลดขนาดความยาว 3-4 นิ้ว จำนวน 2,000-2,500 ตัว ควรวางโพรงไม้ไผ่หรือท่อน้ำเก่าๆ ให้ปลาได้หลบอาศัย ส่วนการเลี้ยงในบ่อดิน ต้องมีการเตรียมบ่อที่ดี เช่นเดียวกับการเลี้ยงปลาชนิดอื่น อาจมีการกันดินขอบบ่อโดยใช้มุ้งเขียว ล้อมขอบบ่อไว้ การเลี้ยงใช้เวลา 6-7 เดือน จะได้ขนาดปลาหลดที่จำหน่าย ประมาณ 30-40 ตัว ต่อกิโลกรัม และอายุ 1 ปี สามารถเป็นพ่อแม่พันธุ์ได้